• 087-5673330
  • cmabchiangmai@gmail.com
  • Line ID : -

ความเข้าใจที่ถูกต้องของแบตเตอรี่แบบแห้ง และแบตเตอรี่แบบน้ำ

ความเข้าใจที่ถูกต้องของแบตเตอรี่แบบแห้ง และแบตเตอรี่แบบน้ำ

แบตเตอรี่นับว่าเป็นหัวใจของรถเลยทีเดียว เพราะจุดเริ่มต้นของการทำงานของเครื่องยนต์ซึ่งจำเป็นต้อง ใช้ไฟที่จ่ายจากแบตเตอรี่เป็นตัวนำไดสตาร์ตในการติดเครื่องยนต์ หน้าที่ของ แบตเตอรี่คือตัวเก็บไฟฟ้าเพื่อใช้ในช่วง ที่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน หากแบตเตอรี่ไม่มีไฟ เครื่องยนต์ก็คงไม่สามารถทำงานได้แน่นอน

แบตเตอรี่ที่มีขายกันในท้องตลาด ทั่วไป ที่หลายๆ คนรู้จักหน้าตากันเป็นอย่างดี พอจะแยกได้เป็น 2 ชนิด คือ แบตเตอรี่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แบตฯ แห้ง และแบตเตอรี่ที่ต้องเติมน้ำกลั่น เรียกกันสั้นๆ ว่า แบตฯ น้ำ

แบตเตอรี่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าแบตฯ แห้ง หลายๆ คนยังเข้าใจว่าแบตเตอรี่แห้ง คือ มันแห้งจริงๆ แต่ความจริงแล้วแบตแห้งที่นำมาใช้กับรถยนต์ยังคงมีประเภทที่มีของเหลวอยู่ ภายใน หากแกะฝาปิดที่เป็นแผ่นพลาสติก แผ่นเรียบออก ก็จะเห็นจุ๊บยางปิดซีลไว้ที่รูช่องเติมน้ำกรด ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็คือแบตเตอรี่แบบตะกั่วกรด เช่นเดียวกัน แต่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น หรือเรียกว่า Maintenance Free นั่นเอง อีกประเภทหนึ่งคือใช้สารละลายอัลคาไลน์หรือที่รู้จักกันในชื่อ นิเกิลแคดเมียม

แต่ที่นิยมและใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากคือแบบตะกั่วกรดเพราะมีราคาถูกกว่า มีข้อดีคือไม่ต้องเติมน้ำกลั่น สะดวกต่อการใช้งาน สามารถปล่อยทิ้งไว้ในสภาพไม่มีไฟประจุสามารถอยู่ได้ในระยะเวลาที่นานกว่าแบ ตธรรมดา และมีปริมาณแก๊สที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาทางเคมีภายในมีน้อย แต่มีราคาแพงกว่าแบตธรรมดา เพราะเป็นระบบปิดที่มีรูหายใจแบบทางเดินทางเดียวขนาดเล็กถ้ามีการอุดตันอาจ จะเกิดปัญหาด้านแรงดันภายใน หรือความร้อนโดยเฉพาะระบบประจุที่รุนแรงเนื่องจากเกิดปัญหาในระบบการประจุ แบตเตอรี่แบบที่ปิดผนึกแบบไม่ใช้ อิเล็กโทรไลต์ ถ้าซีลของช่องหายใจเกิดหลุดจะเกิดการเสียหายเนื่องจากมีความ ชื้นเข้าไป

แบตเตอรี่ที่ต้องเติมน้ำกลั่น หรือ แบตฯ น้ำ โครงสร้างภายในก็คล้ายๆ กับแบตฯ แห้ง ว่ากันตามจริงแล้วแบตเตอรี่แบบแห้งและแบบที่ต้องเติมน้ำกลั่นต่างกันแค่ วัสดุที่ใช้ทำแผ่นธาตุเท่านั้นเอง ข้อดีของแบตฯ ประเภทนี้คือราคาถูก และทนทานต่อการประจุและคายประจุ ส่วนเรื่องที่ไม่ค่อยดีนัก คือ เมื่อมีการเคลื่อนย้ายแบตฯ ต้องระวังการรั่วหกของสารละลายจากภายใน ที่มีส่วนผสม ของกรด ซึ่งสามารถทำลายสีของรถของท่านได้ และที่สำคัญต้องคอยดูแล การประจุและการเติมน้ำกลั่นอยู่เสมออย่าให้ขาดเชียว

ในกรณีที่นำแบตฯไปประจุไฟใหม่ หรือเรียกง่ายๆ ว่าชาร์จไฟ ตามร้านไดนาโมต่างๆ นั่นแหละ แบตเตอรี่แบบน้ำมักจะได้รับการตอบรับจากช่างได้มากที่สุด เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า แบตฯ ชนิดนี้ทนทานต่อการประจุและคายประจุ จึงเป็นเรื่องง่ายมากในการประจุไฟใหม่อีกครั้ง ส่วนแบตฯ แห้งก็สามารถชาร์จไฟได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับทางร้านว่ามีเครื่องชาร์จแบตฯ แห้งโดยเฉพาะหรือไม่ หากเป็นร้านใหญ่ก็ไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่มีทางเลือกเครื่องสามารถใช้เครื่องชาร์จเดียว กันได้ แต่กรรมวิธีต่างกันเพราะถ้าชาร์จโดยกระแสไฟมากเกินปกติ จะทำให้แผ่นธาตุตะกั่วภายในร้อนมาก จนทำให้แบตฯ บวมได้ และทำให้เสียหายได้ และที่สำคัญต้องใช้เวลาในการชาร์จไฟนานกว่าแบตฯ ธรรมดามาก เนื่องจากแต่ละยี่ห้อนั้นออกแบบแตกต่างกันไปในเรื่องซีลหรือระบบทางเดิน เดียวของรูหายใจ ตลอดจนกระแสที่ใช้ในการชาร์จหรือประจุเข้าที่เหมาะสมกับแบตชนิดนี้คือการ ประจุแบบช้า จึงค่อนข้างมีปัญหาต่อการประจุเร็วและรุนแรงของรถที่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าจำนวน มากๆ

  • 23 กรกฎาคม พ.ศ.2556